ลงพื้นที่ปฎิบัติงาน เพื่อปรับรายละเอียดของแผนและโครงการ และสร้างเข้าใจในการ ปรับสายพันธุ์โคที่ซื้อมาเลี้ยงจากโคแม่พันธุ์พื้นเมืองเป็นโคแม่พันธุ์ลูกผสม เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ณ กลุ่มแม่บ้าน บ้านสระตลุง

วันที่ 6 ธันวาคม 2567 นางรวยทิพย์ อุตมะ หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดตาก พร้อมเจ้าหน้าที่ นางลักษณา สอนคุ้ม พนักงานอาวุโส นางสาวสุจารี เกื้อชู และนางสาวสุรีรัตน์ ทรัพย์อยู่ ลูกจ้างกลุ่มงานทั่วไป ลงพื้นที่ปฎิบัติงาน เพื่อปรับรายละเอียดของแผนและโครงการ และสร้างเข้าใจในการ ปรับสายพันธุ์โคที่ซื้อมาเลี้ยงจากโคแม่พันธุ์พื้นเมืองเป็นโคแม่พันธุ์ลูกผสม เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ณ กลุ่มแม่บ้าน บ้านสระตลุง หมู่ 1 บ้านสระตลุง ตำบลตลุกกลางทุ่ง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก

สำรวจข้อมูลตามแบบแสดงความประสงค์ของเกษตรกรสมาชิกที่ได้รับสิทธิ์การเข้าร่วมโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิก กฟก. ลูกหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 22 มีนาคม 2565

วันที่ 4 ธันวาคม 2567 นางรวยทิพย์ อุตมะ หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดตาก มอบหมายให้ นางสาวอาภรณี ครุธผาสุข พนักงานอาวุโส นางสาวอชิรญา แสงศักดิ์ และนางสาวสมประสงค์ เครือแดง ลูกจ้างกลุ่มงานทั่วไป ลงพื้นที่ปฎิบัติงาน เพื่อสำรวจข้อมูลตามแบบแสดงความประสงค์ของเกษตรกรสมาชิกที่ได้รับสิทธิ์การเข้าร่วมโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิก กฟก. ลูกหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 22 มีนาคม 2565 และวันที่ 14 มีนาคม 2566 ในพื้นที่ ตำบลพระธาตุ ตำบลแม่จะเรา อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก จำนวน 8 ราย

“ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรี ได้มีมติ เห็นชอบในหลักการ การแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยให้เกษตรกรทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้เดิม และให้เกษตรกรทำสัญญาผ่อนชำระเงินต้นคงค้างครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 50) ตามระยะเวลาที่ตกลงกันแต่ไม่เกิน 15 ปี โดยไม่เสียดอกเบี้ย สำหรับการชดเชยเงินต้นร้อยละ 50 และดอกเบี้ยในส่วนที่เกษตรกรไม่ต้องรับภาระ และค่าใช้จ่ายต่างๆ รัฐบาลจะรับภาระจัดสรรชดเชยให้กับธนาคารฯ เมื่อเกษตรกรได้ชำระหนี้งวดสุดท้ายเสร็จสิ้นแล้ว”

ติดตามเกษตรกรสมาชิกที่ได้รับสิทธิ์ เพื่อแสดงความประสงค์เข้าร่วมโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิก กฟก. ลูกหนี้ ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง ตามมติของคณะรัฐมนตรี

วันที่ 22 มีนาคม 2565

วันอังคาร ที่ 3 ธันวาคม 2567 เวลา 09.30 น. นางรวยทิพย์ อุตมะ หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดตาก มอบหมายให้ นางสาวอาภรณี ครุธผาสุข พนักงานอาวุโส และนางสาวอชิรญา แสงศักดิ์ ลูกจ้างกลุ่มงานทั่วไป ลงพื้นที่ติดตามเกษตรกรสมาชิกที่ได้รับสิทธิ์ เพื่อแสดงความประสงค์เข้าร่วมโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิก กฟก. ลูกหนี้ ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง ตามมติของคณะรัฐมนตรี

วันที่ 22 มีนาคม 2565 จำนวน 4 ราย ในพื้นที่ ตำบลนาโบสถ์ ตำบลเชียงทอง อำวังเจ้า และตำบลวังประจบ อำเภอเมืองตาก

ประชุม VDO Conferences ร่วมกับคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร พิจารณากลั่นกรองสำนวนอุธรณ์ของเกษตรกร

เวลา 09.30 น. นางรวยทิพย์ อุตมะ หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดตาก เข้าร่วมประชุม VDO Conferences ร่วมกับคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร พิจารณากลั่นกรองสำนวนอุธรณ์ของเกษตรกร กรณีแก้ไขหรือเพิ่มเติมเอกสาร จำนวน 2 สำนวน ผลการวินิจฉัยให้ผ่านทั้ง 2 สำนวน เพื่อขึ้นทะเบียนหนี้ต่อไป

ติดตามเกษตรกรสมาชิกที่ได้รับสิทธิ์ เพื่อแสดงความประสงค์เข้าร่วมโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิก กฟก. ลูกหนี้ ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง ตามมติของคณะรัฐมนตรี วันที่ 22 มึนาคม 2565

วันที่ 2 ธันวาคม 2567 นางรวยทิพย์ อุตมะ หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรขาสาจังหวัดตาก มอบหมายให้ นางสาวอาภรณี ครุธผาสุข พนักงานอาวุโส และนางสาวอชิรญา แสงศักดิ์ ลูกจ้างกลุ่มงานทั่วไป ลงพื้นที่ติดตามเกษตรกรสมาชิกที่ได้รับสิทธิ์ เพื่อแสดงความประสงค์เข้าร่วมโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิก กฟก. ลูกหนี้ ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง ตามมติของคณะรัฐมนตรี วันที่ 22 มึนาคม 2565 จำนวน 4 ราย ในพื้นที่ ตำบลนาโบสถ์ ตำบลเชียงทอง อำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก