มอบเช็คเพื่อชำระหนี้แทนเกษตรกร กรณีบุคคลค้ำประกัน จำนวน 2 ราย จำนวนเงิน 248,867.70 บาท ให้กับสหกรณ์รวมใจถวายในหลวงแม่สอด จำกัด

วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 09.30 น. นางรวยทิพย์ อุตมะหัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดตาก (กฟก.) พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงาน มอบเช็คเพื่อชำระหนี้แทนเกษตรกร กรณีบุคคลค้ำประกัน จำนวน 2 ราย จำนวนเงิน 248,867.70 บาท ให้กับสหกรณ์รวมใจถวายในหลวงแม่สอด จำกัด โดยมีนายเสถียร ปัญญาเสน ประธานกรรมการสหกรณ์ฯ เป็นผู้รับมอบ และนางสาวอัญญารัตน์ มั่นภักดี ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 2 ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ สหกรณ์รวมใจถวายในหลวงแม่สอด จำกัด ตำบลแม่กาษา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

ทั้งนี้เกษตรกรได้จัดทำนิติกรรมสัญญา กับกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ระยะเวลาผ่อนชำระเงินคืน 20 ปี

โดยไม่มีดอกเบี้ย

ประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดตาก ครั้งที่ 2/2568

วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา ๐๙.๓๐ น. สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดตาก จัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดตาก ครั้งที่ 2/2568 โดยมีนางรวยทิพย์ อุตมะ หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดตาก (กฟก.) โดยมีวาระพิจารณาในที่ประชุม ดังนี้

1. พิจารณารับรองการขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกร ปี 2568 (ครั้งที่ 2/2568)

– การขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกรใหม่

2. พิจารณารับรองการขึ้นทะเบียนหนี้เกษตรกรประจำปี พ.ศ. 2568 (ครั้งที่ 2/2568)

ร่วมลงนามเป็นพยานในสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ของเกษตรกรสมาชิก กฟก.

สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดตาก ร่วมลงนามเป็นพยานในสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ของเกษตรกรสมาชิก กฟก.

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 นางรวยทิพย์ อุตมะ หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดตาก ร่วมลงนามในสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ตามโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ลูกหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 22 มีนาคม 2565 และวันที่ 14 มีนาคม 2566 ในฐานะพยาน ให้กับเกษตรกรที่ได้ทำสัญญาสมบูรณ์แล้ว ณ สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดตาก

ร่วมประชุมคณะกรมการจังหวัด และหัวหน้าส่วนจังหวัดตาก ครั้งที่ ๒/๒๕๖๘

กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดตาก ร่วมประชุมคณะกรมการจังหวัด และหัวหน้าส่วนจังหวัดตาก ครั้งที่ ๒/๒๕๖๘

วันจันทร์ ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา ๐๙.๓๐ น. นางรวยทิพย์ อุตมะ หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดตาก (กฟก.) เข้าร่วมประชุมคณะกรมการจังหวัดตาก หัวหน้าส่วนราชการ และผู้เกี่ยวข้อง ประจำเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๘ (ครั้งที่ ๒/๒๕๖๘) มีนายชูชีพ พงษ์ไชย ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุม ณ ห้องประชุมตากสินมหาราช ชั้น ๕ ศาลากลางจังหวัดตาก

พัฒนาแผนโครงการงบกู้ยืม กลุ่มฟื้นฟูแม่โคเพื่อขยายพันธุ์บ้านโป่งแดง โครงการเลี้ยงโคแม่พันธ์ุลูกผสมชาร์โรเล่ย์ ในพื้นที่ตำบลโป่งแดง อำเภอเมือง จังหวัดตาก

วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568 นางรวยทิพย์ อุตมะ หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดตาก (กฟก.) มอบหมายให้ นางลักษณา สอนคุ้ม พนักงานอาวุโส นางสาวสุจารี เกื้อชูและนางสาวสุรีรัตน์ ทรัพย์อยู่ ลูกจ้างกลุ่มงานทั่วไป พร้อมด้วย นายแปลง โพธิ์เปี่ยม อนุกรรมการฯ ลงพื้นที่พัฒนาแผนโครงการงบกู้ยืม กลุ่มฟื้นฟูแม่โคเพื่อขยายพันธุ์บ้านโป่งแดง โครงการเลี้ยงโคแม่พันธ์ุลูกผสมชาร์โรเล่ย์ ในพื้นที่ตำบลโป่งแดง อำเภอเมือง จังหวัดตาก

เพื่อสำรวจข้อมูลตามแบบแสดงความประสงค์ของเกษตรกรสมาชิก ที่ได้รับสิทธิ์การเข้าร่วมโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิก กฟก. ลูกหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง

วันศุกร์ ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2568 นางรวยทิพย์ อุตมะ หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดตาก และนางสาวสุรีรัตน์ ทรัพย์อยู่ ลูกจ้างกลุ่มงานทั่วไป ลงพื้นที่ปฎิบัติงาน เพื่อสำรวจข้อมูลตามแบบแสดงความประสงค์ของเกษตรกรสมาชิก ที่ได้รับสิทธิ์การเข้าร่วมโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิก กฟก. ลูกหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 22 มีนาคม 2565 และวันที่ 14 มีนาคม 2566 ในพื้นที่ ตำบลยกกระบัตร อำเภอสามเงา จังหวัดตาก

“ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรี ได้มีมติ เห็นชอบในหลักการ การแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยให้เกษตรกรทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ กับเจ้าหนี้เดิม และให้เกษตรกรทำสัญญาผ่อนชำระเงินต้นคงค้างครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 50) ตามระยะเวลาที่ตกลงกันแต่ไม่เกิน15 ปี โดยไม่เสียดอกเบี้ย สำหรับการชดเชยเงินต้นร้อยละ 50 และดอกเบี้ยในส่วนที่เกษตรกรไม่ต้องรับภาระและค่าใช้จ่ายต่างๆ รัฐบาลจะ รับภาระจัดสรรชดเชยให้กับธนาคารฯ เมื่อเกษตรกร ได้ชำระหนี้ งวดสุดท้ายเสร็จสิ้นแล้ว”

ลงพื้นที่ปฎิบัติงาน เพื่อสำรวจข้อมูลตามแบบแสดงความประสงค์ของเกษตรกรสมาชิกที่ได้รับสิทธิ์การเข้าร่วมโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิก กฟก. ลูกหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 22 มีนาคม 2565 และวันที่ 14 มีนาคม 2566 ในพื้นที่ ตำบลพระธาตุ อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก

วันอังคาร ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 นางรวยทิพย์ อุตมะ หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดตาก และนางสาวสุรีรัตน์ ทรัพย์อยู่ ผู้ปฏิบัติงานกลุ่มงานทั่วไป ลงพื้นที่ปฎิบัติงาน เพื่อสำรวจข้อมูลตามแบบแสดงความประสงค์ของเกษตรกรสมาชิกที่ได้รับสิทธิ์การเข้าร่วมโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิก กฟก. ลูกหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 22 มีนาคม 2565 และวันที่ 14 มีนาคม 2566 ในพื้นที่ ตำบลพระธาตุ อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก

“ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรี ได้มีมติ เห็นชอบในหลักการ การแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยให้เกษตรกรทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้เดิม และให้เกษตรกรทำสัญญาผ่อนชำระเงินต้นคงค้างครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 50) ตามระยะเวลาที่ตกลงกันแต่ไม่เกิน15 ปี โดยไม่เสียดอกเบี้ย สำหรับการชดเชยเงินต้นร้อยละ 50 และดอกเบี้ยในส่วนที่เกษตรกรไม่ต้องรับภาระและค่าใช้จ่ายต่างๆ รัฐบาลจะรับภาระจัดสรรชดเชยให้กับธนาคารฯ เมื่อเกษตรกร ได้ชำระหนี้งวดสุดท้ายเสร็จสิ้นแล้ว”

ลงพื้นที่ปฎิบัติงาน เพื่อสำรวจข้อมูลตามแบบแสดงความประสงค์ของเกษตรกรสมาชิกที่ได้รับสิทธิ์การเข้าร่วมโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิก กฟก. ลูกหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 22 มีนาคม 2565 และวันที่ 14 มีนาคม 2566 ในพื้นที่ ตำบลเชียงทอง อำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก

วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 นางรวยทิพย์ อุตมะ หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดตาก และนางสาวสุรีรัตน์ ทรัพย์อยู่ ผู้ปฏิบัติงานกลุ่มงานทั่วไป ลงพื้นที่ปฎิบัติงาน เพื่อสำรวจข้อมูลตามแบบแสดงความประสงค์ของเกษตรกรสมาชิกที่ได้รับสิทธิ์การเข้าร่วมโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิก กฟก. ลูกหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 22 มีนาคม 2565 และวันที่ 14 มีนาคม 2566 ในพื้นที่ ตำบลเชียงทอง อำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก

“ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรี ได้มีมติ เห็นชอบในหลักการ การแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยให้เกษตรกรทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้เดิม และให้เกษตรกรทำสัญญาผ่อนชำระเงินต้นคงค้างครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 50) ตามระยะเวลาที่ตกลงกันแต่ไม่เกิน15 ปี โดยไม่เสียดอกเบี้ย สำหรับการชดเชยเงินต้นร้อยละ 50 และดอกเบี้ยในส่วนที่เกษตรกรไม่ต้องรับภาระและค่าใช้จ่ายต่างๆ รัฐบาลจะรับภาระจัดสรรชดเชยให้กับธนาคารฯ เมื่อเกษตรกร ได้ชำระหนี้งวดสุดท้ายเสร็จสิ้นแล้ว”